ทำความเข้าใจกฎหมายอาญาในปะเทศไทย

ทำความเข้าใจกฎหมายอาญาในปะเทศไทย
มกราคม 12, 2022 admin

กฎหมายอาญา ถือเป็นกฎหมายที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในลงโทษผู้กระทำผิดร้ายแรง เพื่อนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อยในสังคม โดยจะมีบทลงโทษอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ปรับและยึดทรัพย์ กักขัง จำคุก และสำหรับบทลงโทษรุนแรงสุดคือ “ประหารชีวิต” สมัยก่อนจะลงโทษการด้วยนำไปยิงเป้า แต่ในสมัยใหม่จะใช้การฉีดยาเข้ากระแสเลือดแทน สำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน (เด็กอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และเยาวชนมีอายุ 15 – 18 ปี) จะไม่มีความผิดทางอาญา แต่จะตัดสินในศาลคดีเด็กที่กฎหมายได้ระบุไว้

ความผิดทางอาญา

ความผิดทางอาญาจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้ โทษที่จะได้รับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุที่ผู้กระทำได้ลงมือ ดังนั้นถ้าเป็นเหตุที่อุกอาจบุกยิงกันในที่สาธารณะย่อมได้รับโทษที่รุนแรงกว่า โดยอาจใช้ความรู้สึกของสังคมเป็นที่ตั้งต่อการกระทำ เรามาเริ่มทำความเข้าใจกันที่ความผิดต่อแผ่นดินกันก่อน ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ โดยจะมีทางรัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วย เมื่อมองเห็นว่าเป็นคดีที่ส่งกระทบต่อสังคมและทรัพย์สินของแผ่นดิน

และความผิดที่ยอมความได้ เป็นความผิดทางอาญาที่ไม่ได้รุนแรง หรือส่งผลกระทบต่อสังคม ผู้ถูกกระทำสามารถที่จะยอมความได้หากยินยอม โดยที่จะไม่มีฝ่ายใดยื่นมือเข้ามายุ่งในคดี การที่ผู้ใดจะรับโทษทางอาญาจะต้องถูกตัดสินด้วยการกระทำที่แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ทำโดยเจตนา เป็นการกระทำโดยรู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น, กระทำโดยไม่เจตนา เป็นการกระทำที่ไม่ได้หวังว่าจะเกิดผลลัพธ์ หรือ กระทำด้วยความประมาท เป็นการกระทำที่เกิดจากความไม่ระมัดระวัง

การยกเว้นโทษทางอาญา

การยกเว้นโทษนั้น เป็นการไม่ลงโทษทางอาญากับผู้กระทำผิด แต่ยังคงเป็นผู้ที่ที่มีความผิดตามกฎหมายอยู่ โดยจะประเมินตามความจำเป็นว่าควรจะพิจารณาเว้นโทษอย่างไร เช่นหากผ็กระทำผิดทำไปด้วยเพราะเหตุจำเป็น มีความผิดปกติทางจิต ทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ หรือ ทำความผิดโดยอยู่ในภาวะมึนเมา ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะเว้นโทษหรือไม่

อีกอย่างหนึ่งที่ได้รับการยกเว้นคือเด็ก และเยาวชน ที่เด็กต่ำกว่า 7 ปี จะไม่ได้รับโทษใดๆ เพราะในทางกฎหมายแล้วถือว่าเด็กวัยนี้ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่สามารถที่จับกุมหรือนำมาลงโทษทางอาญาได้ สำหรับเด็กที่ขึ้นมาหน่อยคือเด็กที่อายุไม่เกิน 14 ปี จะมีบทลงโทษตามความเหมาะสม คือการตักเตือนเด็ก หรือกล่าวเตือนผู้ปกครอง และอาจมีการพิจารณาส่งเด็กไปสถานฝึกอบรมตามที่ศาลเห็นควร

Comments (0)

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*