ผู้พิพากษากับอัยการคืออะไรและมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

ผู้พิพากษากับอัยการคืออะไรและมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร
มกราคม 12, 2022 admin

ผู้พิพากษา และอัยการ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่สำคัญของฝ่ายรัฐในระบบยุติธรรมด้วยกันทั้งคู่ เด็กๆน้องๆที่กำลังศึกษาอยู่ หรือคนทั่วไปที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้อาจสงสัยว่า แล้วทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

ก่อนอื่นลองนึกภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ต่างประเทศดูครับ โดยเฉพาะพวกหนังเกี่ยวกับการต่อสู้ในชั้นศาล มีหลายเรื่องมาก ตรงนี้จะช่วยให้ง่ายขึ้น เพราะเราจะเห็นว่าบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไปเลย

ผู้พิพากษา มีหน้าที่หลักคือ นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล และเป็นผู้ควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาลให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และมีอำนาจในการตัดสินพิพากษาคดี และเป็นผู้รับคำฟ้องร้องจากอัยการหรือทนายฝ่ายโจทก์ในการฟ้องร้อง รวมถึงกำหนดวงเงินในการประกันตัวสำหรับจำเลยหรือผู้ต้องหาด้วย ขณะที่ในหลายประเทศของตะวันตกที่ใช้ระบบการตัดสินคดีอาญาด้วยคณะลูกขุน ผู้พิพากษาจะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายในการตัดสินลงโทษ แต่อำนาจการตัดสินใจพิพากษาคดีความว่าจำเลยผิดหรือไม่นั้น ก็จะอยู่ที่คณะลูกขุนเป็นหลัก แต่บางประเทศเช่นในญี่ปุ่น ผู้พิพากษาทั้งสามคนจะมีส่วนร่วมออกเสียงโหวตกับคณะลูกขุนได้เช่นกัน อำนาจของผู้พิพากษาในการตัดสินคดีจึงมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ

ในส่วนของผู้พิพากษาที่จะต้องตัดสินคดีและกำหนดบทลงโทษ ต้องพิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฏในรูปคดีเท่านั้น

อัยการ คือเจ้าพนักงานของรัฐที่มีหน้าที่รวบรวมสำนวนคดีจากเจ้าพนักงานสอบสวนหรือตำรวจ แล้วรับมาดำเนินการต่อว่า จะฟ้องไปชั้นศาลหรือไม่ ถ้าสั่งฟ้อง อัยการก็จะเป็นทนายฝ่ายโจทก์ในการดำเนินคดีฟ้องเอาผิดจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีนั้นๆไป โดยอำนาจหน้าที่ของอัยการก็จะแตกต่างไปตามรูปคดีและในแต่ละประเทศด้วย

โดยสรุปแล้ว หน้าที่หลักของอัยการในการดำเนินคดีในชั้นศาลคือ

  • ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้เอง
  • ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  • ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  • อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้

 

ดังนั้นในภาพรวมแล้ว อัยการและผู้พิพากษาจึงต้องทำงานร่วมกันอย่างแยกกันไม่ได้

ตัวอย่างรูปแบบทั่วไปที่เราพบคือ เมื่อเกิดคดี นาย A ฆ่าคนตาย ตำรวจได้เดินหน้ารวบรวมหลักฐาน ทำสำนวนฟ้องส่งให้อัยการ เมื่อรับมาแล้ว อัยการก็ต้องพิจารณาจากหลักฐานและรูปคดีว่าเห็นควรส่งฟ้องหรือไม่ ถ้าส่งฟ้องศาล อัยการก็จะกลายเป็นทนายให้ฝ่ายโจทก์ในการเรียกร้องความยุติธรรมในชั้นศาลต่อไป ส่วนจำเลยก็จะต้องจ้างทนายมาสู้คดี หรือถ้าไม่มีเงินจ้าง ทางรัฐก็จะหาทนายมาว่าความให้ต่อไป

Comments (0)

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*